แนะนำ 10 ปลั๊กพ่วงอย่างดี ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
1. Anitech ปลั๊กไฟมอก. 3ช่อง 1สวิตช์ รุ่น H233-2M
ยี่ห้อ/รุ่น | Anitech / H233-2M |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 1 / 3 / ไม่มี |
ความยาวสาย | 2 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 2 ปี |
Anitech ปลั๊กไฟมอก รุ่น H233-2M มี Circuit breaker ในตัว ซึ่งหน้าที่ของเบรกเกอร์สวิตช์เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าโหลดเกิน จะทำการตัดวงจรการทำงานของปลั๊กไฟ ลดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมยังสามารถรีเซ็ตกลับมาทำงานตามปรกติโดยเพียงทำการกดปุ่มเปิด/ปิดใหม่ สวิตช์นิรภัยตัดไฟเองได้ สวิช์ควบคุมที่มีวงเบรคเกอร์ในตัว ปลอดภัยมากขึ้นด้วยการตัดไฟเกินอัติโนมัติ (ตัดไฟเมื่อเกิน 2200W)
รายละเอียด/คุณสมบัติ
- 1 สวิตช์ 3 ช่อง
- รองรับกำลังไฟฟ้า สูงสุด 2200 วัตต์ 10 แอมป์
- รองรับแรงดันไฟฟ้า สูงสุด 250 โวลต์
- สายไฟคุณภาพยาว 2 เมตร ขนาด 3 x 0.75 sq.mm.
- ผลิตด้วยวัสดุคุณภาพไม่ลามไฟ
- รับประกัน 2 ปี
2. AMC ปลั๊กบล็อคยาง หน้าเหล็ก 4 ช่อง พร้อมสวิตช์
ยี่ห้อ/รุ่น | AMC / C14XX |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 1 / 4 / ไม่มี |
ความยาวสาย | 3 ,5 ,10 ,15 ,20 และ 30 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 2 ปี |
จุดเด่น
- ปลั๊กบล็อคยางมีความปลอดภับสูง
3. Gongniu ปลั๊กพ่วง มาตราฐาน มอก. รุ่น GNTH-T304U
ยี่ห้อ/รุ่น | Gongniu / GNTH-T304U |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 4 / 4 / 2 |
ความยาวสาย | 3เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 3 ปี |
ข้อพิจารณา
- มีช่อง USB สามารถเสียบชาร์ทโทรศัพท์ได้
4. Data ปลั๊กพ่วง ปลั๊กไฟ มอก.แท้ รุ่น HM4496
ยี่ห้อ/รุ่น | DATA / HM4496 |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 4 / 4 / ไม่มี |
ความยาวสาย | 3 ,5 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 2 ปี |
DATA ปลั๊กพ่วง รุ่น HM4496 4 ช่อง 4 สวิตซ์ ชนิดขาเสียบ 3 ขา (Universal Plug) ปลั๊กมาตรฐาน มอก.2432-2555 เต้าเสียบมาตรฐาน มอก. 166-2549 เต้ารับมีม่านนิรภัยเพื่อความปลอดภัย ผลิตด้วยวัสดุ ABS ไม่ลามไฟ ทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 10A หรือ 2300W ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน หรือลัดวงจรด้วยระบบเซอร์กิตเบรกเกอร์ มีระบบกันไฟกระชาก (SURGE PROTECTOR)
มีสวิตซ์ควบคุมการ เปิด ปิดของการจ่ายกระแสไฟฟ้า สวิตซ์มาตรฐาน IEC 61058-1 ขนาดตัวปลั๊ก 6.8 x 26.7 x 3.5 cm สายไฟยาว 3 และ 5เมตร สายไฟมาตรฐาน มอก. 11 เล่ม 11-2553( 3 x 0.75 sq.mm.) ใช้เป็นปลั๊กจ่ายไฟเป็นอุปกรณ์ผ่านไฟฟ้า สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ ทีวี วีดีโอ เครื่องเสียง และอื่นๆ
จุดเด่น
- มีประกันอุบัติเหตุที่เกิดจากปลั๊กพ่วง วงเงิน 100,000 บาท
5. Toshino ปลั๊กพ่วง รุ่น ET-914USB
ยี่ห้อ/รุ่น | Toshino / ET-914USB |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 4 / 4 / 2 |
ความยาวสาย | 3 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 3 ปี |
TOSHINO ปลั๊กไฟ มอก. รุ่น ET-914USB มีสวิตซ์แยก 4 เต้าเสียบ 4 สวิตซ์ 2 USB สายยาว 3 เมตร มีระบบป้องกันไฟกระชาก ระบบป้องกันการใช้กระแสไฟเกินอัตโนมัติ มาตรฐาน IEC 60934 สายไฟมาตรฐาน IEC 60227 เต้ารับมาตรฐาน มอก 166-2544 สวิทช์เปิด – ปิด การใช้งาน มาตรฐาน IEC 60151 ม่านนิรภัยป้องกันนิ้วมือผู้ใช้สัมผัสแผ่นทองเหลืองด้านใน ไฟ LED แสดงสถานะ รองรับไฟได้ 2,300 วัตต์ เต้ารับ 3ขา และป้องกันไฟรั่ว ตาม มอก. 166 – 2549
จุดเด่น
- มีช่อง USB สามารถเสียบชาร์ทโทรศัพท์ได้
6. Randy 66series ปลั๊กไฟ กันไฟสองชั้น
ยี่ห้อ/รุ่น | Randy / 666U |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 1 / 5 / 2 |
ความยาวสาย | 3 ,5 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 2 ปี |
จุดเด่น
- มีช่อง USB สามารถเสียบชาร์ทโทรศัพท์ได้
- มีประกันอุบัติเหตุที่เกิดจากปลั๊กพ่วง รับประกันโดย AIG ประกันภัย
7. PANASI ปลั๊กไฟ มอก. รุ่น PN-1093U ,PN-1094U ,PN-1095U
ยี่ห้อ/รุ่น | PANASI / PN-1093U ,PN-1094U ,PN-1095U |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 4 / 4 / 3 |
ความยาวสาย | 3 ,5 ,8 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 3 ปี |
- รุ่น PN-1093U (มี มอก.) ปลั๊กไฟ 3 ช่อง และ USB 3 ช่อง
- รุ่น PN-1094U (มี มอก.) ปลั๊กไฟ 4 ช่อง และ USB 3 ช่อง
- รุ่น PN-1095U (มี มอก.) ปลั๊กไฟ 5 ช่อง และ USB 3 ช่อง
จุดเด่น
- มีช่อง USB สามารถเสียบชาร์ทโทรศัพท์ได้
- สายยาวสุด 8 เมตร
8. VOX ปลั๊กไฟ มอก. รุ่น P-432 3 ช่อง 3 สวิตซ์ 2 USB
ยี่ห้อ/รุ่น | VOX / P-432 |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 3 / 3 / 2 |
ความยาวสาย | 3 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 3 ปี |
ปลั๊กไฟ มอก. VOX รุ่น P-432 3 ช่อง 3 สวิตซ์ 2 USB ความยาว 3เมตร ปลั๊กไฟมาตรฐาน มอก.2432-2555 ที่ผ่านกระบวนการทดสอบ ทุกชิ้นส่วน พร้อมด้วยมาตรฐาน IECที่ให้การยอมรับในระดับสากล ทำให้มั่นใจได้ว่า ปลัํ๊กไฟ วอกซ์ สามารถใช้งานได้ตาม มาตรฐานที่ มอก. กำหนดไว้ เต้ารับ IP40 มีม่านนิรภัย มีเบอรคเกอร์ตัดไฟอัติโนมัติ รองรับกำลังไฟ 2500วัตต์ ต่อไฟด้วยปลั๊ก 3 ขา ปลอดภัย
สายไฟ ผ่านมาตรฐาน IEC60227-53 และ มอก.11-2553 เต้ารับมีม่านนิรภัย กันนิ้วมือเด็ก พร้อมระบบสายดิน ผลิตจากวัสดุกันไฟลาม (Fire Resistant) เต้าเสียบ แบบกลม ผ่านมาตรฐาน มอก.166-2549 เบรคเกอร์นิรภัย ตัดไฟเมื่อใช้ไฟเกิน (Thermal cutoff Circuit Breaker) มาตรฐาน IEC 60934 สวิตซ์ไฟ มาตรฐาน IEC6158-1 ผ่านการรับรองจากเยอรมันนี (VDE) และ มอก.284-2551
จุดเด่น
- มีช่อง USB สามารถเสียบชาร์ทโทรศัพท์ได้
9. AMC รางปลั๊กไฟ 6 ช่อง มาตราฐาน มอก. รุ่น B16XX
ยี่ห้อ/รุ่น | AMC / B16XX |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 1 / 6 / ไม่มี |
ความยาวสาย | 3 ,5 ,10 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 2 ปี |
จุดเด่น
- ได้รับการออกแบบให้มีการปลอดภัยเพิ่ม 2 ชั้น
10. TOSHINO ปลั๊กไฟกันไฟกระชาก รุ่น P3375USB
ยี่ห้อ/รุ่น | TOSHINO / P3375USB |
เบรกเกอร์ตัดไฟ | มี |
สวิตซ์ / ช่องเสียบ / USB | 5 / 5 / 2 |
ความยาวสาย | 3 เมตร |
มอก | ได้รับ มอก. |
รับประกัน | 3 ปี |
จุดเด่น
- มีช่อง USB สามารถเสียบชาร์ทโทรศัพท์ได
ปลั๊กพ่วงมีกี่ประเภท? กี่แบบ?
ปัจจุบันปลั๊กพ่วงมีให้เลือกหลายรูปแบบ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะกับใช้งานของแต่ละบ้านหรือแต่ละสถานที่ ที่ใช้กันทั่วไป มีดังนี้
1. ปลั๊กพ่วงแบบ 2 ขา
เป็นปลั๊กพ่วงที่มีมีเต้าเสียบปลั๊กรองรับปลั๊กของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีตั้งแต่ 3-4 เต้ารับขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาด และลักษณะตัวปลั๊กว่าสามารถมีเต้ารับได้กี่ช่อง โดยทั่วไปแล้ว จะรองรับแรงดันไฟฟ้าได้ไม่เกิน 1,500W มักนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่น โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น หรือชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ เป็นต้น
2. ปลั๊กโรลสายไฟ
ลักษณะตัวปลั๊กจะเป็นโรลสำหรับม้วนเก็บและดึงสายไฟออกมาใช้งาน โดยเต้าเสียบปลั๊กมีให้เลือกสองแบบ ได้แก่ ปลั๊กเสียบแบบ 2 ขา และปลั๊กเสียบแบบ 3 ขา โดยทั่วไปแล้ว สามารถรองรับกำลังไฟฟ้าได้มากถึง 2,500-3,500W เหมาะกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังสูง และต้องการพื้นที่กว้าง เนื่องมีสายไฟค่อนข้าวยาว ม้วนเก็บง่าย และเคลื่อนย้ายได้สะดวก
3. ปลั๊กบ็อกยางสนาม
ปลั๊กประเภทนี้มีขนาดพอดี พกพาได้ง่าย ตัวเต้าปลั๊กทำจากวัสดุยาง ซึ่งลดแรงกระแทก ทำให้ทนทาน ใช้งานได้นาน รูปทรงและดีไซน์เรียบง่าย ธรรมดา ขนาดแรงดันไฟฟ้าที่รองรับได้อยู่ที่ 3,500 วัตต์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรุ่น แต่ส่วนใหญ่แล้วค่าแรงดันไฟฟ้าที่รองรับได้จะอยู่เฉลี่ยอยู่ที่ค่าดังกล่าว เหมาะกับใช้งานช่าง ไม่ค่อยพบเห็นนำมาใช้งานทั่วไปภายในบ้านเท่าไหร่
4. ปลั๊กกรองไฟ
ปลั๊กไฟประเภทนี้ประกอบด้วยเต้าเสียบที่รองรับปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ค่อนข้างเยอะ มากถึง 8 เต้าเสียบ ตัวปลั๊กขนาดพอเหมาะ กำลังดี และมีราคาสูง เพราะมาพร้อมฟังก์ชันเสริมที่ช่วยกรองสัญญาณภาพและเสียง ทำให้ปราศจากคลื่นแทรกรบกวน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติกันไฟกระชากได้เป็นอย่างดี สามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้มากถึง 3,500 วัตต์
5. ปลั๊กกันไฟกระชาก
มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลั๊กพ่วง แต่จะแตกต่างกันที่คุณสมบัติเฉพาะ โดยปลั๊กกันไฟกระชากประกอบด้วยวงจรกันไฟกระชาก ทำให้มีคุณสมบัติป้องกันไฟกระชาก ฟ้าผ่า และหม้อแปลงระเบิด ระดับรองรับไฟกระชากจะมากน้อยแตกต่างกันไปตามจำนวนจูลล์ สามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้ที่ 10A 2,500 วัตต์ – 16A 3,500 วัตต์ ผู้ที่ใช้ปลั๊กไฟประเภทนี้ควรติดตั้งสายดิน เพื่อความปลอดภัย
วิธีใช้งานปลั๊กพ่วงให้ปลอดภัย
การใช้งานปลั๊กพ่วงให้ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางไฟฟ้า ดังนี้คือวิธีการใช้งานปลั๊กพ่วงให้ปลอดภัย
1. เลือกปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพดี
เลือกปลั๊กพ่วงที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและมีการป้องกันการกระเด็นไฟ (surge protection) ค้นหาผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่เชื่อถือได้และตรวจสอบว่าได้รับการรับรองหรือมีการประกันคุณภาพเช่น UL (Underwriters Laboratories) หรือ ETL (Intertek Testing Services) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า
2. ไม่ควรเสียบใช้งานปลั๊กพ่วงมากเกินไป
ปลั๊กพ่วงมีช่องเสียบที่จำกัด ไม่ควรเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าเกินกว่าความจุที่ระบุ และอย่าเชื่อมต่อปลั๊กพ่วงให้เกินความจุโดยใช้เต้ารับ (daisy-chaining) เนื่องจากอาจทำให้เกิดการร้อนเกินไปและเกิดอันตรายจากไฟไหม้
3. ตรวจสอบสายไฟก่อนใช้งาน
ตรวจสอบสภาพของสายไฟของปลั๊กพ่วงเพื่อตรวจสอบว่าไม่มีการชำรุดหรือเสียหาย เช่น เส้นใยไฟฟ้าชำรุดหรือแตก หากพบสายไฟชำรุดให้แทนที่ปลั๊กพ่วงทันที เนื่องจากสายไฟชำรุดอาจทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าช็อคหรือไฟไหม้
4. ไม่ติดตั้งในที่ชื้นหรืออุณหภูมิสูง
อย่าติดตั้งปลั๊กพ่วงในที่มีความชื้นสูงหรือมีการไหม้ อาทิเช่นในบริเวณโรงหรือห้องน้ำ นอกจากนี้อย่าวางปลั๊กพ่วงในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเกินไปหรือถูกแสงแดดตรง ซึ่งอาจทำให้เกิดความร้อนเกินไปหรือเสียหายต่อส่วนประกอบภายใน
5. ตรวจสอบความสามารถในการรับแรงดันไฟฟ้า
หากปลั๊กพ่วงของคุณมีฟังก์ชันการป้องกันการกระเด็นไฟ (surge protection) ให้ตรวจสอบว่ามีความสามารถในการรับแรงดันไฟฟ้าจากฟ้าผ่า ในกรณีที่มีฟังก์ชันนี้ จะช่วยปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าของคุณจากการกระเด็นไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นหลังจากฟ้าผ่าหรือการดับไฟขัดข้องอื่น ๆ
6. อย่าเสียบอุปกรณ์ที่เกินกำลังไฟฟ้า
ในกรณีที่ปลั๊กพ่วงของคุณมีความจุที่จำกัด อย่าเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟฟ้ามากกว่าความจุที่ระบุ ตรวจสอบความต้องการกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ก่อนการเสียบใช้งาน
7. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานปลั๊กพ่วงแก่คนในบ้าน
ให้แน่ใจว่าทุกคนในครอบครัวหรือสถานที่ทำงานของคุณเข้าใจวิธีการใช้ปลั๊กพ่วงอย่างปลอดภัย สอนเด็กๆ เกี่ยวกับอันตรายของการเสียบปลั๊กพ่วงและอุปกรณ์ไฟฟ้า
การปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้คุณใช้ปลั๊กพ่วงได้อย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางไฟฟ้า
วิธีการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงให้คุ้มค่าและปลอดภัย
แนวทางการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่เหมาะสมประกอบด้วยปัจจัยหลายประการที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ ต่อไปนี้คือขั้นตอนที่คุณสามารถปฏิบัติตาม
ด้านความปลอดภัย
1. เลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานมอก.
โดยมองหาสัญลกัษณ์ มอก.2432-2555 บนบรรุจภัณฑ์หรือตัวปลั๊กพ่วง ซึ่งจะติดไว้อย่างชัดเจนเพื่อยืนยันว่าปลั๊กรุ่นนั้นๆ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว ก่อนซื้อควรสังเกตให้ดีว่ามีสัษลักณ์ดังกล่าวหรือไม่
2. ผลิตจากวัสดุที่ไม่ลามไฟ
ปลั๊กพ่วงตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือไม่ลามไฟ ไม่ว่าจะเป็นฝาครอบหรือกล่องปลั๊กโดยต้องเป็นวัสดุ พลาสติกเอวีซี, พลาสติก ABS หรือโพลีคาร์บอเนต ที่ผ่านมาตรฐาน UL94 ซึ่งในการเลือกเราสามารถอ่านได้จากฉลากสินค้าว่าใช้วัสดุในการผลิตเป็นอะไร
การเลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่ทำจากวัสดุไม่ลามไฟจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ลงได้เยอะเลยทีเดียว ปลั๊กพ่วงเป็นแหล่งรวมความร้อนสะสม เมื่อเราใช้งานอย่างต่อเนื่องยาวนาน ปลั๊กที่ไม่ผ่านมอก.อาจร้อนจนเกิดอาการติดไฟ หรือ ลามไฟและเป็นต้นเหตุของไฟไหม้ได้
3. เลือกปลั๊กที่เต้าเสียบเป็นขากลม 3 ขา
เต้าเสียบตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 ต้องเป็นแบบขากลม 3 ขา นอกจากนี้ยังต้องติดตั้งฉนวนกันไฟที่โคนขาเพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า และเมื่อนำไปใช้งานเต้ารับกับเต้าเสียบต้องไม่หลวมเพื่อลดอันตรายจากการที่ปลั๊กเกิดความร้อนสูงซึ่งอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ตามมา
4. เต้ารับต้องมีช่อง L N G และม่านนิรภัย พร้อมสายดินจริง
เต้ารับของปลั๊กพ่วงตาม มอก.2432-2555 ต้องต่อช่อง L N G (Line Neutral Ground) ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน และต้องมีม่านนิรภัยปิดเต้ารับเอาไว้ เพื่อป้องกันวัสดุแปลกปลอมเข้าไปภายใน หรือป้องกันการแหย่นิ้วมือลงไปของเด็ก
นอกจากนี้ในส่วนของสายดินต้องเป็นสายจริงห้ามทำสายดินหลอก หรือกราวน์หลอกเหมือนที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ (ก่อนหน้านี้ ผู้ผลิตบางรายทำกราวน์หลอก คือ มีแต่รูสำหรับเสียบ เพื่อให้สามารถเสียบใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเต้าเสียบแบบมีสายดินได้ แต่ถ้าเกิดกรณีมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสนั้นจะไม่สามารถจะไหลลงดินทางสายดินได้)
5. มีเบรกเกอร์ตัดไฟอัตโนมัติ
ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟ หรือ เบรกเกอร์ ตัวตัดไฟควรเป็นแบบ Thermal Circuit Breaker หรือ RCBO ไม่ควรใช้แบบที่เป็นฟิวส์
6. รองรับแรงดันและกระแสไฟฟ้าได้ตามมาตรฐาน มอก.
ด้านความคุ้มค่า
1. จำนวนเต้ารับ
เลือกปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับเพียงพอต่อการใช้งาน และอย่างเหมาะสม
2. มีสวิตช์เปิด-ปิด
ตัวสวิตช์ที่ใช้สำหรับเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะสามารถควบคุมการจ่ายไฟให้กับเต้ารับแแต่ละช่อง ไม่ว่าจะเปิดหรือปิด ทำให้ไฟฟ้าไม่ลัดวงจร ประหยัดค่าไฟฟ้า รวมไปถึงเป็นตัวช่วยในการตัดไฟได้ทันทีอีกด้วย ยิ่งมีหนึ่งสวิตช์ต่อหนึ่งเต้ารับยิ่งดี
3. ความยาวของสายไฟ
อีกปัจจัยในการเลือกซื้อปลั๊กพ่วง คือต้องคำนึงถึงความยาวของสายไฟด้วย โดยต้องเลือกปลั๊กพ่วงให้พอดีกับระยะเต้าเสียบภายในบ้าน หรือที่ทำงาน หากสั้นเกินไปอาจไม่ถึงจุดที่ต้องใช้ หรือหากยาวเกินไปอาจจะทำให้เกะกะได้
4. มี Port USB
ปัจจุบันปลั๊กหลายรุ่นที่ผลิตออกมา มักจะมีช่อง USB มาให้ด้วย ซึ่งช่อง USB นี้จะจ่ายไฟกระแสงตรง 5V สามารถชาร์ทโทรศัพท์ แทปเล็ต หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ไฟ DC 5V ได้ แต่ข้อควรระวัง ให้เลือกปลั๊กไฟที่คุณภาพดี ได้มาตรฐาน ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์ของคุณพังเสียหายได้
5. คุณภาพและแบรนด์
ควรเลือกซื้อปลั๊กพ่วงจากแบรนด์ที่มีความเชื่อถือและเครื่องหมายคุณภาพ อ่านรีวิวและความคิดเห็นของผู้ใช้งานที่ผ่านมาเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
6. ราคา
ในการซื้อปลั๊กพ่วงควรพิจารณาราคาที่เหมาะสมกับงบประมาณของคุณ อย่างไรก็ตาม อย่าละเมิดคุณภาพเพื่อประหยัดงบประมาณ ควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดีที่สุด
หลังจากที่คุณปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวและเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่เหมาะสม คุณควรตรวจสอบสภาพของปลั๊กพ่วงอีกครั้งก่อนใช้งาน เช่น ไม่มีความเสียหายหรือชำรุด และใช้งานตามคู่มือและข้อแนะนำที่มากับอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ
สรุป
อย่างไรก็ตาม ในการใช้งานปลั๊กพ่วงเราควรใส่ใจในการใช้งานอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า หากมีการเสียบปลั๊กไฟมากเกินไปอาจทำให้เกิดการสะเทือนไฟฟ้าหรือเกิดความร้อนที่สายไฟได้ ดังนั้นควรตรวจสอบความเหมาะสมของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับปลั๊กพ่วงและอุปกรณ์ที่เราเสียบปลั๊กไฟอย่างเคร่งครัด
ในสังคมที่เทคโนโลยีและอุปกรณ์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ปลั๊กพ่วงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชิ้นพร้อมกันได้อย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย นอกจากนี้ยังช่วยลดความยุ่งเหยิงในการเสียบปลั๊กไฟและจัดการพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตร่วมสมัยได้ตรงกับความต้องการของเราในยุคดิจิทัล