บอนสี ชื่อต้นไม้ชนิดนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ถือได้ว่าเป็นต้นไม้ที่เป็นที่สนใจของคนหลายคนหลายกลุ่ม เพราะบอนสีมีสีสันสวยงาม มีเสน่ห์ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสีหลายสี และมีสายพันธุ์ที่หลากหลาย จนมีคนขนานามว่าเป็น “ราชินีแห่งใบไม้”
บอนสีจัดได้ว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ในสมัยโบราณบอนสีเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกติดไว้ในบ้านพักอาศัยและจะทำให้บ้านที่ปลูกมีความสุขความเจริญเป็นสิริมงคลแก่บ้านพักอาศัยทำให้คนในบ้านมีความสุข
บอนสีคืออะไร
บอนสี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caladium bicolor เป็นสายพันธุ์ในสกุลบอนจากลาตินอเมริกา อยู่ในวงศ์ Araceae เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงาม มีสีสันหลากหลายแปลกตาและเป็นเอกลักษณ์ จนได้รับการขนานนามว่า “ราชินีแห่งไม้ใบ”(Queen of the Leafy Plants) มักถูกปลูกเป็นต้นไม้ประดับและถือเป็นไม้มงคลอีกด้วย เนื่องจากใบขนาดใหญ่รูปหัวใจหรือรูปหอกที่มีสีเขียว ขาว ชมพู หรือแดงที่โดดเด่น
บอนสีมีนับร้อยสายพันธุ์ การจะเลือกปลูกบอนสีต้นสักต้น ทุกคนคงต้องคิดหนัก ว่าจะเลือกปลูกพันธุ์ไหนดี ยิ่งต้องปลูกอยู่ในบ้านของเรา ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความสวยงาม ความยากง่ายในการเลี้ยงดู ถ้าเราเป็นมือใหม่ในการหัดปลูกบอนสี หากดูแลไม่ถูกวิธีอาจทำให้บอนสีตายได้ หรือแม้กระทั้งความเป็นศิริมงคลให้แก่เจ้าของบ้านก็เป็นอีกปัจจัยในการเลือกปลูกบอนสีเช่นกัน บทความนี้เราจะขอแนะนำ บอนสี 20 สายพันธุ์ที่ เหมาะสำหรับมือใหม่หัดปลูก มีสีสันสวยงาม เป็นศิริมงคล และเป็นที่นิยมปลูกไว้ในบ้านกันอย่างแพร่หลาย จะมีพันธุ์ไหนบ้างไปดูกันเลยครับ
แนะนำ บอนสี 10 สายพันธุ์ น่าสะสม สวยงาม ปลูกง่ายปลูกเป็นไม้มงคล
1. บอนสีสายชล
ต้นบอนสีชายชล เป็นหนึ่งในราชินีใบไม้ตระกูลบอนสีที่ได้รับความนิยมมากในไทย เป็นบอนสีที่นักสะสมต้องมี เรียกกันอีกชื่อว่า “บอนป้าย” มีใบที่สวยงาม มีเสน่ห์ จนทุกคนหลงใหลและอยากมีไว้เลี้ยง ลักษณะของบอนสีชายชล คือ ใบมีรูปทรงคล้ายรูปหัวใจ ปลายแหลม กระดูกใบสีขาว มีจุดสีขาวอยู่บนใบสีเขียว บางใบมีป้ายสีแดงบนใบอีกด้วย ด้วยความสวยงามแปลกตาของต้นบอนสีชายชนจึงนำไปสู่การประกวดจนได้รับรางวัล ทำให้คนรักต้นไม้ทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการต้นบอนสีชายชลจนราคานั้นสูงถึงหลักหมื่น
สำหรับมือใหม่ที่อยากลองเลี้ยงบอนสีสาอล แนะนำให้ซื้อต้นเล็กมาเลี้ยงกันก่อน เพื่อให้เราได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยง การดูแล และซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าซื้อต้นบอนสีชายชลที่ฟอร์มสวยแล้วอีกด้วย
จุดเด่น
- ใบมีรูปทรงคล้ายรูปหัวใจ สวยงาม มีเสน่ห์
- เลี้ยงง่าย โตเร็ว
- เพาะพันธุ็ได้หลายวิธี
2. บอนสีนพเก้า
ลักษณะบอนสีนพเก้า ใบด่างและมีเม็ดสีแดงกระจายทั่วใบ มีทั้งด่างขาว ด่างเท่า ด่างเหลือง ใบยาวฉีกถึงสะดือขอบใบหยักพริ้วเหมือนคลื่น ก้านสูงมีจุดเลือดสีดำออกน้ำตาลทั่วทั้งก้าน ใบสวย และมีสีค่อนข้างจัดเต็ม ต้นโตเต็มที่ใบจะสวยมากมีหลายสีในหนึ่งใบ มีสีทุก 7 สี ตั้งแต่ เหลือง ชมพู ส้ม แดง เขียว บางใบมีสีครามด้วย หรือบางใบด่างขาวบ้างแล้วแต่ต้น เมื่อโตเต็มวัยแล้ว บอนสี นพเก้า สีสวยมากเป็นที่น่าหลงใหล เรียกได้ว่าเป็น ราชินีแห่งใบไม้ เลยก็กว่าได้
จุดเด่น
- มีลักษณะใบด่างและมีเม็ดสีแดงกระจายทั่วใบสวยงาม
- ต้นโตเต็มที่ใบจะสวยมากมีหลายสีในหนึ่งใบ มีสีทุก 7 สี ตั้งแต่ เหลือง ชมพู ส้ม แดง เขียว บางใบมีสีคราม
3. บอนสีเพชรเจ็ดสี
บอนสีเพชร 7 สี มีใบที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่นสะดุดตาในเรื่องของสีที่หลากหลาย ทั้งด่าง กัดกระจาย ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมพื้นใบนั้นจะเป็นสีเขียว และมีกระดูกใบสีเปลือกมังคุดค่อนไปทางดำ แต่ก็ไม่ถึงดำสนิท ก้านจะมีเป็นสีเปลือกมังคุดค่อนไปทางดำ หากบอนเพชร 7 สี โตเต็มที่หรือมาอายุมากพอสมควรแล้วก้านอาจจะรับน้ำหนักของใบไม่ไหว ต้องมีการทำที่ดามก้านเพื่อป้องกันไม่ให้ก้านหัก
บอนสีเพชร 7 สี มีความแตกต่างของการป้ายและกัดสีภายในใบ สีสันนั้นสดใสกว่าบอนสีชนิดอื่น ๆ เลยก็ว่าได้ หากฟอร์มกอดีก็จะยิ่งชูช่อสวยงาม ทำให้บ้านและสวนของท่านดูสดใสมากๆ นอกจากนี้ใบชนิดนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องของใบที่มีขนาดใหญ่มาก หากโตเต็มที่แล้วก้านอาจจะรับน้ำหนักใบไม่ไหว จะต้องมีลวดหรือไม้ค้ำเพื่อไม่ให้ก้านหัก
จุดเด่น
- ความแตกต่างของการป้ายและกัดสีภายในใบ ทำให้มีหลายสีในหนึ่งต้น
- สีสันนั้นสดใสกว่าบอนสีชนิดอื่น ๆ
- หากฟอร์มกอดี จะยิ่งชูช่อสวยงามมากๆ
4. บอนสี ณ เมืองนนท์
บอนสี ณ เมืองนนท์ ลักษณะมีสีสันสวยงาม สามารถผลิใบที่มีสีสันแตกต่างกันได้หลายเฉดสี ลักษณะใบยาว กระดูกชมพู พื้นใบสีเขียวกัดสีชมพู ด่างขาว กัดสีชมพูและเหลืองที่ใบ หรือหน้าทอง ก้านสีชมพูน้ำตาล ต้นเล็กใบจะมีสีหม่นๆ เทาๆ เมื่อต้นโตขึ้นใบจะมีลักษณะด่างสีชมพูหวานๆ บางใบก็จะมีสีส้มอมแดง ที่ใบจะมีจุดเม็ดสีทอง สีเหลือง
จุดเด่น
- ใบจะมีลักษณะด่างสีชมพูหวานๆ สวยงาม
5. บอนสีอสงไขย
บอนสีอสงไขย ลักษณะพื้นใบสีขาวอมเขียว กระดูกและเส้นเป็นสีขาว มีป้ายเขียวเข้ม ราคาของต้นแม่พันธุ์จะเฉลี่ยอยู่ที่ 95,000 บาท ถ้าเป็นการแตกหน่อจะอยู่ที่ต้นละ 10,000 บาท แต่ราคาขายสูงสุดเริ่มต้นประมาณ 90,000 บาท ถือเป็นสายพันธุ์เด่น และเป็นสายพันธุ์หายากที่มีคนจับตามองมากไม่แพ้สายพันธุ์อื่น ๆ ด่วยจุดเด่นคือการมีใบเรียวแหลม มีจุดสีแดงกระจายอยู่ทั่วไป แต่จะอยู่บริเวณโคนเป็นส่วนมากและผสมสีเขียวอ่อนกับสีเขียวเข้ม ที่มาในลักษณะของใบด่าง จึงให้สีสันที่สวยงามลงตัวเลยทีเดียว
จุดเด่น
- สีสันที่สวยงามลง มีใบเรียวแหลม มีจุดสีแดงกระจายอยู่ทั่วไป แต่จะอยู่บริเวณโคนเป็นส่วนมากและผสมสีเขียวอ่อนกับสีเขียวเข้ม
6. บอนสีธาตุบางแก้ว
บอนสีธาตุบางแก้ว เป็นบอนสีอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีควมสวยและมีราคาแพง มีจุดเด่นในส่วนของใบที่มีลักษณะคล้ายกับรูปหัวใจ ภายในใบจะมีสีขาว แดง ชมพูและเขียว ซึ่งถ้าหากสังเกตให้ดี จะเหมือนการเอาสีไปแต่งแต้มไว้เหมือนจานสีของจิตรกร ก็เลยทำให้เป็นที่ถูกอกถูกใจของชาวบอนเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะพึ่งมีการผสมพันธุ์บอนพันธุ์นี้ได้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนทำให้ต้นเล็กๆ มีราคาประมาณ 22,000 บาท ส่วนใครที่อยากได้ต้นโตเต็มที่เพื่อเอาไปตั้งโชว์หรือเอาไปเพาะพันธุ์เพิ่ม ก็สนนราคาอยู่ที่ 150,000 บาทเท่านั้น ในส่วนของการดูแลอาจจะต้องเอาใจใส่นิดนึง เพราะบอนธาตุบางแก้วค่อนข้างชอบน้ำ ไม่ชอบแสงมาก จึงต้องเลี้ยงแบบที่มีการหล่อน้ำไว้ที่กระถางทุกวัน และต้องใช้ดินที่มีการผสมใบก้ามปูด้วย เพื่อให้ใบบอนมีสีสันสดใสมากขึ้น
ข้อพิจารณา
- ใบมีลักษณะคล้ายกับรูปหัวใจ ภายในใบมีสีขาว แดง ชมพูและเขียว ลักษณะเหมือนการเอาสีไปแต่งแต้มไว้เหมือนจานสีของจิตรกร
7. บอนสีมณีล้อมเพชร
เป็นบอนสีใบยาว ด่างชมพู มีเสน่ห์ตรงสีเหลืองและบรอนซ์เงินที่กระจายตัวอยู่บนใบแทรกมาเป็นแถบ ใบค่อนข้างหนา
จุดเด่น
- ด่างชมพู มีเสน่ห์ตรงสีเหลืองและบรอนซ์เงินที่กระจายตัวอยู่บนใบ
8. บอนสีเกาะเกร็ด
บอนสีเกาะเกร็ด มีจุดเด่น คือ สีสันใบสวย ปลูกง่าย และฟอร์มใหญ่ เป็นอีกหนึ่งในตระกูลบอนที่หลายคนตามหา ด้วยความสวยน่ารักอยู่ที่ใบจะมีลายจุดสีแดง ชมพู บางใบก็ด่างฮาฟสีขาวบางใบก็ขาวหมดมีแต่จุดสีชมพู หรือบางใบแรร์ไอเทมก็ด่างเหลืองไปเลย
ข้อพิจารณา
- การซึมซับดีเยี่ยม 6 เท่า ซึมซับน้ำได้ถึง 6 แก้ว
- ไม่มีส่วนประกอบของสารที่ก่อให้เกิดการแพ้
- ผิวสัมผัสแบบ 3D Embossing นุ่ม อ่อนโยนต่อผิวบอบบาง
9. บอนสีเจ้าปอแก้ว
บอนสีเจ้าปอแก้วหรือไม้ประดับที่มีฉายาว่า เจ้าหญิงแห่งบอนสีนั้นเรียกได้ว่าเป็นต้นไม้ที่ใครหลาย ๆ คน อยากจะปลูกกันเยอะมาก ๆ ต้นหนึ่งเลย มีจุดเด่นอยู่ที่ใบที่จะออกเป็นสีชมพูและมีด่างขาวปะปนซึ่งก็ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับตัวต้นไม้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่สามารถฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ได้อีกด้วย
ลักษณะเด่นอยู่ที่บริเวณใบที่จะแตกต่างจากบอนสีชนิดอื่นโดยสิ้นเชิงะ ซึ่งหากใครที่เคยเห็นต้นบอนสีแล้วก็จะเห็นว่าใบของเขาจะมีลักษณะคล้ายกับรูปหัวใจค่ะและบริเวณปลายใบนั้นจะเป็นแบบแหลม ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ๆ แต่บอนสีปอแก้วจะแตกต่างออกไป โดยที่ใบจะคล้าย ๆ กับครึ่งวงกลม อีกทั้งส่วนของปลายใบจะออกเป็นโค้งมน ซึ่งนี้ถือเป็นจุดเด่นของเขาที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเป็นอย่างแรกเลย
ข้อพิจารณา
- สีใบออกเป็นสีชมพูและมีด่างขาวปะปน
- ใบจะคล้าย ๆ ครึ่งวงกลม ส่วนของปลายใบออกโค้งมน
10. บอนสีอิเหนา
บอนสีอิเหนา มีลักษณะของลำต้น ที่มีหัวที่ค่อนข้างกลมอยู่ใต้ดิน ผิวนอกเป็นสีน้ำตาลเข้ม ถ้าผ่าดูด้านในจะเห็นเป็นสีเหลืองนวลหรือสีขาวอมเหลือง ถัดขึ้นมาเป็นระบบรากฝอย และต่อด้วยก้านใบที่โผล่พ้นพื้นดินขึ้นมา หัวใต้ดินสามารถขยายขนาดและแตกหน่อใหม่ได้เรื่อยๆ ลักษณะใบก้านใบเป็นทรงกลมที่ค่อนข้างยาว ส่วนก้านที่ยังอ่อนจะมีสีเขียวสด แต่เมื่อแก่จัดแล้วจะมีสีน้ำตาลอ่อนผสม ใบขนาดใหญ่มีรูปร่างคล้ายหัวใจ โคนใบเว้าลึก ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบาง กรอบใบและเส้นแขนงจะมีสีเขียวสด พื้นที่ส่วนที่เหลือจะเป็นสีขาว ซึ่งสัดส่วนระหว่างสีขาวกับสีเขียวเปลี่ยนแปลงได้ตามการเลี้ยงดู ลักษณะดอก เป็นดอกเดี่ยวที่ชูช่อขึ้นมากลางกอใบ มีกระเปาะทรงกลมเป็นฐานดอก ถัดขึ้นไปเป็นแท่งแกนกลางทรงเรียวยาว ปลายโค้งมน ผิวนอกขรุขระเล็กน้อยและมีสีขาวนวล ด้านนอกสุดโอบล้อมด้วยกาบเดี่ยวคล้ายกลีบบัวสีขาว กาบนั้นจะมีความสูงมากกว่าแกนกลางเล็กน้อย
จุดเด่น
- ใบมีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายหัวใจ โคนใบเว้าลึก ปลายใบเรียวแหลม กรอบใบและเส้นแขนงจะมีสีเขียวสด พื้นที่ส่วนที่เหลือจะเป็นสีขาว
ลักษณะโดยทั่วไปของบอนสี
บอนสีมีความสูงประมาณ 0.5 เมตร มีพุ่มกว้างประมาณ 1 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัว ผิวของลำต้นเป็นผิวเรียบและ ใบกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลักษณะใบ สีสันสวยงาม และดอกมีเกสรเป็นแท่งยาวโผล่ออกมา ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู รังไข่ใต้วงกลีบ มีกลิ่นฉุน
ส่วนประกอบของต้นบอนสี
1. หัว มีลักษณะคล้ายหัวมันฝรั่งหรือหัวเผือก มีรากฝอยขนาดเล็กแตกออกรอบๆ หัว และที่ใกล้ๆ กับรากหรือระหว่างรากจะมีหน่อเล็กๆ หรือที่เรียกกันว่า เขี้ยว ซึ่งสามารถงอกออกเป็นบอนต้นใหม่ได้
2. ราก ลักษณะจะเป็นรากฝอยที่งอกออกจากหัวด้านบนระหว่างรอยต่อของหัวบอนกับลำต้น
3. กาบและก้านใบ เป็นส่วนที่ต่อจากหัวบอน กาบเป็นส่วนโคนของก้านใบ แต่ไม่กลมเหมือนก้านใบ คือมีลักษณะเป็นกาบคล้ายกาบของใบผักกาดเป็นที่พักของใบอ่อน ส่วนก้านใบคือส่วนที่ต่อจากกาบใบขึ้นไปยังใบบอน ที่กาบและก้านใบนี้จะมีลักษณะของสีที่แตกต่างไปจากสีของกาบและใบอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะของสีนี้เรียกแตกต่างกันไป ดังนี้
– สะพาน มีลักษณะเป็นเส้นขีดเล็กๆ ยาวจากกาบไปตลอดแนวก้านใบขึ้นไปจรดคอใบ ถ้าอยู่ด้านหน้าเรียกสะพานหน้า ถ้าอยู่ด้านหลังเรียกสะพานหลัง
– เสี้ยน มีลักษณะเป็นจุด เป็นขีด หรือเส้นเล็กๆ สั้นยาวไม่เท่ากันและมีสีต่างกับก้าน กระจายอยู่รอบๆ ก้านใบ
– สาแหรก มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ บริเวณโคนก้านใบหรือกาบใบ วิ่งจากบริเวณโคนของกาบใบไปตามก้านใบเป็นเส้นสั้นๆ ไม่ยาวเหมือนสะพาน อาจเป็นเส้นเดี่ยว เส้นคู่ หรือหลายเส้นก็ได้
4. คอใบ คือช่วงปลายของก้านใบไปถึงสะดือใบ
5. สะดือ คือส่วนปลายสุดของก้านใบจรดกับกระดูก
6. กระดูก คือเส้นกลางใบที่ลากจากสะดือไปจนสุดปลายใบ
7. เส้น คือเส้นใบย่อยที่แยกจากกระดูกหรือเส้นกลางใบ
8. หูใบ คือช่วงส่วนล่างของใบที่ยื่นออกจากสะดือใบแยกออกเป็นสองส่วน สั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ของบอนสี บางพันธุ์ก็ไม่มีหูใบเลย
9. แผ่นใบ คือส่วนทั้งหมดของใบ
10. หว่างหู คือบริเวณใบที่หยักเว้าเป็นหูใบ
11. สะโพก คือด้านล่างของส่วนกว้างของหูใบ
12. วิ่งพร่า คือ จุดเล็ก ๆ ที่แผ่กระจายเสียบข้างกระดูก อาจมีสีเดียวกันหรือต่างจากกระดูก
ประเภทของบอนสี
ก่อนจะปลูกบอนสี มารู้จักบอนสีแต่ละประเภทกันก่อน ใบของบอนสีสามารถจำแนกได้ตามลักษณะใบได้ 5 ลักษณะดังนี้
1. บอนสีใบไทย
ใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม บริเวณก้านใบจะกลมก้านใบกลมออกจากกึ่งกลางใบ และมีหูใบฉีกไม่ถึงสะดือหรือจุดที่เส้นใบมาชนกัน เช่น สาวน้อยประแป้ง ม่านนางพิม ไก่ราชาวดี พญามนต์ พญาเศวต(ตันแพลง) สร้อยแสงจันทร์ เทพทรงศีล ภูพิงค์ สกุนตลา พลายชุมพล น้อมเกล้า พระยามน ปาเต๊ะ เป็นต้น
2. บอนสีใบกลม
ลักษณะใบค่อนข้างกลม บริเวณปลายใบจะมนสม่ำเสมอ ก้านใบกลมและอยู่กึ่งกลางใบ จัดว่าเป็นบอนสีกลุ่มที่เลี้ยงค่อนข้างยาก นิยมเลี้ยงในกระโจมหรือตู้อบ เช่น บอนสีเมืองหลวง รัตนาธิเบศร์ เมืองศรีเกษ เมืองอุบล บางกอก เมืองสยาม ยูเรนัส เมืองพัทยา เมืองชล เมืองสุวรรณภูมิ เป็นต้น
3. บอนสีใบยาว
ใบรูปหัวใจคล้ายบอนใบไทย แต่ใบเรียวกว่า ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบอยู่ตรงรอยหยักบริเวณโคนใบพอดี ละมีหูใบฉีกถึงสะดือ เช่น กรวยทอง คุณหญิง จักรราศี ไชยปราการ หงส์เหิน กวนอิม ฮกหลง เป็นต้น
4. บอนสีใบกาบ
ลักษณะใบคล้ายๆ รูปหัวใจ ก้านใบจะเป็นกาบและจะมีรยางค์ที่เรียกกันว่าแข้ง ซึ่งก็คือส่วนที่ยื่นออกมาจากก้านใบ ลักษณะคล้ายใบเล็ก ๆ อยู่กึ่งกลางของก้านนั่นเอง บอนสีใบกาบนั้นก้านใบจะแผ่แบนตั้งแต่โคนใบไปจนถึงแข้ง คล้าย ๆ ใบผักกาด เป็นหนึ่งในกลุ่มบอนสีที่ปลูกยาก นิยมปลูกในกระโจมหรือตู้อบตลอดเวลา เช่น ทุ่งบางพลี ขันธกุมาร เทพลีลา เรือนแก้ว อังศุมาลิน รัชมงคล ฤาษีมงคล เทพพิทักษ์ กวักทรัพย์เกษม เทพกุญชร เป็นต้น
5. บอนสีใบไผ่
ลักษณะใบแคบเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่ หูใบสั้นมีลักษณะคล้ายกับใบไผ่ ความกว้างของใบไม่เกิน 2 นิ้ว ใบรูปแถบ เช่น ไผ่สยาม ไผ่สดม สายใยรัก หยกมณี ใบไผ่สีดำ ไผ่กรุงเทพฯ ไผ่จุฬา ไผ่ธารทิพย์ ไผ่ธารมรกต ไผ่ศรศิลป์ ไผ่สวนหลวง เป็นต้น
การขยายพันธุ์บอนสี
- แยกหน่อ วิธีนี้ทำได้โดยการแบ่งหน่อของต้นบอนสีจากโคนต้นแม่ แล้วนำไปปลูกในกระถางที่เตรียมเอาไว้
- ผ่าหัว ใช้หัวที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี จะช่วยให้ต้นที่เกิดใหม่โตเร็วและแข็งแรง ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ บอนสีจะแตกหน่อและราก เมื่อเริ่มผลิใบแล้วประมาณ 1-2 ใบ จึงย้ายไปปลูกในกระถาง
- ผสมเกสร วิธีการนี้ทำได้โดยการนำดอกของต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่บานในช่วงเวลาประมาณ 19:00-20:00 น. แล้วจึงทำการผสมเกสร ซึ่งบอนสีจะผสมติดภายใน 1 สัปดาห์ และฝักจะแก่เต็มที่ภายใน 30 วัน จึงสามารถนำเมล็ดไปเพาะได้
- เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือปั่นตา ให้นำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเจริญของต้นบอนสีมาเลี้ยงในที่ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง จนเกิดเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อและพัฒนาเป็นบอนสีต้นใหม่
เคล็ดลับวิธีเลี้ยงและดูแลบอนสี โตไว ฟอร์มสวย
ต้นบอนสีทุกสายพันธุ์เป็นไม้อวบน้ำที่ชอบน้ำและความชื้นมาก แต่ก็คายความชื้นมาในอากาศได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้ต้นบอนสีไม่ชอบแสงแดด เพราะแสงแดดทำให้น้ำและความชื้นในดินระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว การปลูกบอนสีในกระถางดินเผาจึงเหมาะกว่าการปลูกในกระถางพลาสติก เนื่องจากจะช่วยชะลอการระเหยของความชื้นในดิน ควรปลูกด้วยดินร่วนผสมกากมะพร้าวเผื่อช่วยอุ้มน้ำเนื่องจากเป็นไม้ที่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบดินที่แน่นอุ้มน้ำมากนัก ปลูกไว้ในบริเวณอากาศสามารถถ่ายเทสะดวก เพื่อเติมออกซิเจนให้ดินและราก เพื่อไม่ให้รากและหัวเน่าได้ง่าย
ดิน
บอนสีเป็นไม้ที่ชอบดินร่วนซุย สามารถระบายน้ำได้เร็ว ดินปลูกควรระบายอากาศได้ดี โดยผสมกาบมะพร้าวสับ หรือแกลบลงไปในดิน และควรเป็นดินที่มีแร่ธาตุ และสารอาหารสูง
สูตรผมสมดินสำหรับปลูกบอนสี
- ดินร่วน 6 ส่วน
- ทราย 4 ส่วน
- ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
- ใบมะขามผุ ใบก้ามปู หรือกาบมะพร้าว 1 ส่วน
น้ำ
เป็นไม้ที่ต้องการน้ำมากพอสมควร หากปลูกลงดินทั่วไป ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น แต่ไม่ควรฉีดน้ำที่โคนต้นโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ต้นบอนสีหักได้ง่าย หากปลูกบอนสีในกระถาง ควรมีจานรองใส่น้ำไว้อย่าปล่อยให้แห้ง
แสง
บอนสีเป็นพืชที่ต้องการแสง แสงแดดถือว่ามีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นบอนสีเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าหากบอนสีได้รับแสงไม่เพียงพอก็ทำให้ใบมีสีที่ซีด และมีลวดลายที่ดูไม่สวยงาม อีกทั้งถ้าได้รับแสงมากก็อาจจะทำให้ใบไหม้ได้ ดังนั้นจึงควรต้องมีวัสดุมาพรางไว้ประมาณ 50 % หรือปลูกไว้ในพื้นที่ที่มีแสงแดดแบบรำไร
ความชื้น
บอนสีชอบความร้อนชื้น ต้องการความชื้นสูง จะเติบโตได้ดีในหน้าฝนที่มีความชื้นในอากาศสูง ส่วนในฤดูหนาวและฤดูร้อนจะไม่ค่อยแตกใบ หากต้องการเลี้ยงบอนสีในฤดูหนาวและฤดูร้อน ควรเลี้ยงในตู้หรือในโรงเรือนหลังคาเตี้ย เพื่อช่วยรักษาระดับความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศแห้งแล้ง ควรฉีดพ่นน้ำให้ที่ใบบ่อยๆ จะส่งผลให้บอนสีเติบโตสวยงาม
ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยธรรมชาติ หรือใช้ปุ๋ยคอกละลายน้ำรด แต่อย่าให้เข้มข้นมาก เพราะจะทำให้สีไม่สวย ปุ๋ยจากมูลหมูและมูลไก่จะเหมาะกับบอนสีมากกว่าปุ๋ยมูลวัว หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 16-16-16 ใส่ครั้งละไม่มาก เพื่อบำรุงรากและลำต้นให้มีความแข็งแรง เวลาให้ปุ๋ยต้องระวังไม่ให้ปุ๋ยโดนใบบอน เพราะจะทำให้เกิดรอยไหม้ขึ้นมาได้
การป้องกันโรคและแมลง
ใช้ยากำจัดเชื้อราจำพวกแคปแทน (captan) หรือมาแนบ (maneb) รด ส่วนเพลี้ยอ่อนใช้ยามาลาไธออน (malathion) หรือไดอาซินอน (diazinon) ฉีดพ่นก็ได้