ไฟฉุกเฉินคืออะไร?
ไฟฉุกเฉิน (Emergency Lighting) คือแหล่งกำเนิดแสงที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้แสงสว่างอย่างอัตโนมัติ ในกรณีที่มีภัยฉุกเฉินหรือขาดแคลนแหล่งไฟฟ้าปกติ ทำให้สามารถออกจากสถานที่อย่างปลอดภัยหรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ในสภาวะที่มีการขาดแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าหลัก
ไฟฉุกเฉินมักมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น มีแบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายไฟ การให้แสงสว่างที่มีความสว่างพอเหมาะ และสามารถเห็นได้ในสภาพการมองเห็นต่ำ ในสถานที่ต่างๆ หรือสภาพที่มีควันหรือหมอก ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการใช้ไฟธรรมดาในภาวะเหล่านี้
ส่วนประกอบหลักของไฟฉุกเฉินหรือไฟสำรอง
ระบบไฟฉุกเฉินประกอบด้วยหลายส่วนที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้ระบบทำงานได้ตามที่ต้องการในสถานการณ์ฉุกเฉิน นี่คือส่วนประกอบที่สำคัญของระบบไฟฉุกเฉิน
1. หลอดไฟ (Light Bulb)
หลอดไฟเป็นส่วนที่สำคัญที่ให้แสงสว่างในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมักมีดีไซน์เฉพาะที่ทำให้มีความสว่างและสามารถให้แสงได้ตลอดระยะเวลาที่กำหนด ปัจจุบันนิมใช้เป็นหลอด LED เนื่องจากประประหยัดไฟ ทำให้สามารถเปิดใช้งานได้ระยะเวลานาน
2. แบตเตอรี่ (Battery)
แบตเตอรี่ใช้เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าในขณะที่ไฟหลักยังทำงานอยู่ ในกรณีที่มีการขาดแสงหลัก, แบตเตอรี่จะทำให้ไฟฉุกเฉินสามารถทำงานได้
3. วงจรชาร์จควบคุมแบตเตอรี่ (Battery Charger Control)
วงจรชาร์จทำหน้าที่เติมพลังงานให้แบตเตอรี่เมื่อไฟหลักทำงานปกติ, ซึ่งช่วยในการรักษาพลังงานของแบตเตอรี่
4. อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
ในกรณีที่ไฟฉุกเฉินใช้ไฟฟ้าที่มีลักษณะต่างจากไฟหลัก, อินเวอร์เตอร์ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าให้เข้ากับระบบไฟฉุกเฉิน
5. ระบบตรวจจับการขาดแสง (Lighting Failure Detection System)
ระบบนี้ตรวจจับการขาดแสงหลักและเปิดใช้งานไฟฉุกเฉินโดยอัตโนมัติ
6. ระบบถ่ายโอน (Transfer System)
ระบบนี้ช่วยในการถ่ายโอนการจ่ายไฟฟ้าระหว่างแหล่งไฟหลักและไฟฉุกเฉิน
7. ระบบควบคุม (Control System)
ระบบนี้ควบคุมการทำงานของทุกระบบ เช่น การเปิด-ปิดไฟ, การจ่ายไฟฟ้า, และการรักษาแบตเตอรี่
การทำงานร่วมกันของส่วนประกอบทั้งหมดนี้ทำให้ระบบไฟฉุกเฉินสามารถให้บริการได้ในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกประการ การรักษาและทดสอบระบบเป็นส่วนสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะทำงานอย่างถูกต้องเมื่อมีความต้องการ
ในบทความนี้เราจะขอแนะนำ ไฟฉุกเฉิน 10 รุ่น แบรนด์ยอดนิยม ใช้ดี มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน ให้แสงสว่างได้นาน จะมีรุ่นไหนบ้าง ไปดูกันได้เลยครับ
แนะนำ 10 ไฟฉุกเฉิน ได้มาตรฐาน ให้แสงสว่างได้นาน
1. ไฟฉุกเฉิน SUNNY รุ่น SG303-04
ยี่ห้อ | SUNNY |
รุ่น | SG303-04 |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | 600 ลูเมน |
แบตเตอรี่ | 12V/1.3Ah |
สำรองไฟนาน | 4 ชม. |
รับประกัน | หลอดไฟ 10ปี แผงวงจร 5ปี แบตเตอรี่ 2ปี |
SUNNY SMART Emergency Light ไฟฉุกเฉิน รุ่น SG303-04 LED 3W ไฟฉุกเฉินที่ไม่ใช่เพียงแค่ให้แสงสว่างในยามฉุกเฉินอย่างเดียวเท่านั้น ซันนี่ผู้นำด้านนวัตกรรมแสงสว่างฉุกเฉิน ได้พัฒนาระบบโคมไฟฉุกเฉินธรรมดาให้เป็นโคมไฟฉุกเฉินอัจฉริยะ ที่สามารถ ทำงานได้มากกว่า 1 อย่าง เป็นได้ทั้งเครื่องสำรองไฟฟ้าฉุกเฉิน และยังเป็นได้ทั้งโคมไฟตั้งโต๊ะโดยผู้ใช้งานสามารถเลือกตั้งเวลาด้วยรีโมท นานถึง 12 ชม. และไฟจะปิดเองอัตโนมัติ หรือปิดไฟได้ด้วยรีโมทเมื่อต้องการ
- ใช้หลอด LED ขนาด 12V-3W จำนวน 2 หลอดและ ได้รับมาตรฐานความปลอดภัย CE และ ROHS
- รองรับระบบ Auto test และ Remote test วงจร 12 Voltage – 1.3 AH.
- สามารถเปิดหลอดไฟเพื่อให้แสงสว่างในขณะที่ไฟฟ้าปกติ โดยสั่งงานผ่าน รีโมท และ
- สามารถเลือกตั้งระยะเวลาการใช้งานได้ 1,2,3,6 และ 12 ชม.
- สำรองไฟนาน 4 ชม. เวลาไปดับ
- ตัวกล่องพลาสติก ABS UL-94 V-0 ทนความร้อน ไม่ลามไฟทนต่อการกระแทกแตกหักหรือกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี รวมถึงน้ำหนักเบา
- ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.1102-2538 , มอก.1955-2551
2. ไฟฉุกเฉิน Panasonic รุ่น LDR400N
ยี่ห้อ | Panasonic |
รุ่น | LDR400N |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | 400 ลูเมนต์ |
แบตเตอรี่ | 12V/1.3Ah |
สำรองไฟนาน | 10 ชม. |
รับประกัน | แผงวงจร 3ปี |
Panasonic Emergency Daylight ไฟฉุกเฉินพานาโซนิค รุ่น LDR400N สำรองไฟได้นานถึง 10 ชั่วโมง หมดกังวลเมื่อเกิดเหตุไฟดับ ให้แสงสว่างยามจำเป็นด้วยไฟฉุกเฉิน LED ที่จะมาช่วยให้คุณมองเห็นพื้นที่โดยรอบได้ในเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงด้วยหลอดไฟแบบ LED ความสว่างที่ 400 ลูเมนต์ กระจายแสงสว่างได้ทั่วถึง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งกว่า ประหยัดไฟยิ่งกว่าหลอดไฟทั่วไป ใช้ได้ต่อเนื่องยาวนาน ผลิตจากวัสดุโพลีคาร์บอเน็ตคุณภาพเยี่ยม มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อการใช้งาน มาพร้อมกับมือจับหิ้วที่สามารถพกพาไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์คับขัน
- วัสดุผลิตจากโพลีคาร์บอเน็ต น้ำหนักเบา ทนทาน ไม่ลามไฟ
- ระบบสำรองไฟยาวนานสูงสุด 10 ชั่วโมง
- การออกแบบที่ทันสมัย เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการความปลอดภัย
- ปลอดภัยจากเหตุฉุกเฉิน ด้วยระบบทำงานอัตโนมัติเมื่อไฟดับ
- ประหยัดยิ่งกว่าด้วยหลอดไฟแบบ LED อายุการใช้งานยาวนาน
- หมดปัญหาเครื่องกินไฟด้วยระบบตัดไฟอัตโนมัติ
- มั่นใจด้วยการรับประกันแผงวงจร 3 ปี
- ได้มาตรฐาน มอก. 1955 – 2551
3. ไฟฉุกเฉิน DELIGHT รุ่น DLEM-203L3
ยี่ห้อ | DELIGHT |
รุ่น | DLEM-203L3 |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | 400 ลูเมนต์ |
แบตเตอรี่ | 6V/4.5Ah |
สำรองไฟนาน | 3 ชม. |
รับประกัน | แผงวงจร 5 ปี แบตเตอรี่ 2 ปี |
DELIGHT ไฟฉุกเฉิน อุ่นใจด้วยระบบสำรองไฟนานสูงสุด 3 ชั่วโมง เครื่องมีขนาดเล็ก วัสดุเหล็ก คงทนแข็งแรง น้ำหนักเบา สะดวกเวลาเคลื่อนย้าย ปลอดภัย ด้วยระบบอัตโนมัติทำงานทันทีเมื่อไฟดับ ใช้งานไม่ยุ่งยากด้วยวงจรอัจฉริยะตัดไฟเมื่อชาร์จเต็ม
รายละเอียด/คุณสมบัติ
- หลอด LED MR 16 3.8W X 2 (ซื้อเปลี่ยนได้เอง)
- สำรองไฟได้ยาวนาน 3 ชั่วโมง
- แบตเตอรี่ 6V-4.5AH ขนาดมาตราฐาน
- ขนาด 23X8.5X26.5 CM
- มีระบบชาร์จอัตโนมัติ กำลังไฟ 6 watt แรงดัน 220-240 volt
- ความสว่าง 400 ลูเมนต์
- อุปกรณ์ได้รับมาตราฐาน มอก.1955-2551, ISO9001:2008
- มีระบบป้องกันการใช้แบตเตอรี่จนประจุหมด
- มีระบบป้องกันการลัดวงจรทางด้าน Input-Output
- เครื่องมีขนาดกลาง น้ำหนัก 2.1 kg
- แถมฟรีแบตเตอรี่
- รับประกันแผงวงจร 5 ปี แบตเตอรี่ 2 ปี
4. ไฟฉุกเฉิน IWACHI รุ่น GE-2015
ยี่ห้อ | IWACHI |
รุ่น | GE-2015 |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | 375 ลูเมนต์ |
แบตเตอรี่ | 4V/5Ah |
สำรองไฟนาน | 6-10 ชม. |
รับประกัน | 3 เดือน |
IWACHI ไฟฉุกเฉิน Automatic Emergency Light 12W รุ่น GE-2015 ติดสว่างเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ไฟตก สามารถสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 4-6 ชม. ติดตั้งง่ายเพียงแขวนกับฝาผนังตามทางเดินและต่อเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน เพียงต่อปลั๊กไฟไว้ตลอดเวลาจะเป็นการชาร์จไฟแบตเตอรี่ให้เต็มพร้อมใช้งาน กรณีเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ตัวเครื่องจะทำการเปลี่ยนระบบให้เป็นระบบแสงสว่างทดแทน และเมื่อไฟฟ้าติดจะทำการเปลี่ยนระบบสลับไปเป็นการชาร์จไฟแบตเตอรี่เหมือนเดิม
ใช้หลอดไฟ LED hipower แสงไฟสีขาว ปรับทิศทางได้ 360 องศา พร้อมบอดี้ระบายความร้อนที่ใหญ่ขึ้น แสงไฟกระจายได้มุมที่กว้างขึ้นเวลาใช้งาน ความสว่างสูงและแสงไฟมองเห็นทางชัดเจนในระยะพื้นที่ไม่เกิน 6 x 6 เมตร
รายละเอียด/คุณสมบัติ
- หลอดไฟ LED SPOTLAMP 12w แสงไฟสีขาว 2 ดวง ปรับทิศทางได้ 360°
- สามารถสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 6-10 ชม.
- แบตเตอรี่แห้งขนาด 4v 5ah 1 ลูก ภายในตัวเครื่องสำรองไฟ
- มีสวิทซ์ทดสอบระบบการใช้งาน เปิด-ปิด
- หลอดไฟแสดงสถานะการใช้งาน 3 ดวง / AC สีเขียว / CHARGE สีแดง / DISCHARGE สีเขียว
- ติดตั้งแขวนกับฝาผนัง/ ตามทางเดิน
- มาตรฐาน มอก. 1955-2551
- ขนาด 25 x 23 x 8 cm
- น้ำหนัก 1.75 kg
5. ไฟฉุกเฉิน BAMA รุ่น BM-E-12
ยี่ห้อ | BAMA |
รุ่น | BM-E-12 |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | ไม่ระบุ |
แบตเตอรี่ | 4V/5Ah |
สำรองไฟนาน | 6-10 ชม. |
รับประกัน | 1 ปี |
- Suitable for Warehouse, Office, Home, Garden, Factory.
- แรงดันไฟฟ้า AC220V-240V 50/60Hz
- สำหรังต่อเข้ากับไฟบ้าน AC 220v 50Hz – 60 Hz
- แบตเตอรี่แห้งขนาด 4V 5Ah 1 ลูก
- สามารถสำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 4-6 ชม.
- ISO 2001 – 2000
- มาตรฐาน มอก. 1955-2551
6. ไฟฉุกเฉิน NPV รุ่น EL2-4W
ยี่ห้อ | NPV |
รุ่น | EL2-4W |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | ไม่ระบุ |
แบตเตอรี่ | ไม่ระบุ |
สำรองไฟนาน | 6 ชม. |
รับประกัน | 1 ปี |
- มีขนาดเล็กเพียง 5 x 13.5 x 15 ซม.
- ไฟสำรองอยู่ได้นาน 6ชั่วโมง
- ตัวหลอดไฟสามารถหมุนได้ 360 องศา ทั้งสองด้าน
- มีสวิชเปิดปิด ทดสอบได้ บริเวณด้านข้างของเครื่อง
- ได้รับ มอก.1955-2551
7. ไฟฉุกเฉิน SUPPER SAVE รุ่น S-011
ยี่ห้อ | SUPPER SAVE |
รุ่น | S-011 |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | ไม่ระบุ |
แบตเตอรี่ | 4V 5Ah |
สำรองไฟนาน | 10 ชม. |
รับประกัน | 1 ปี |
ไฟฉุกเฉิน LED ติดตั้งง่าย ประหยัดไฟมากกว่า ด้วยหลอดไฟ LED ให้ความสว่างอย่างเต็มประสิทธิภาพ เหมาะกับการใช้สำรองไฟฟ้าตามอาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โกดังเก็บสินค้า ทางเดินหนีไฟ และการนำไปใช้งานภาคสนาม แคมป์ปิ้ง ส่องสำรวจ ติดตั้งง่ายเพียงแขวนกับฝาผนังตามทางเดินและต่อเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน ตัวเครื่องจะทำการเปลี่ยนระบบให้เป็นระบบแสงสว่างทดแทน และเมื่อไฟฟ้าติดจะทำการเปลี่ยนระบบสลับไปเป็นการชาร์จไฟ แบตเตอรี่เหมือนเดิม
รายละเอียด/คุณสมบัติ
- ไฟ 12W LED แสงขาว
- ดวงไฟสามารถปรับหมุนได้ 360องศา
- ความสว่าง 375 ลูเมนต์
- แบตเตอรี่ 4V 5Ah
- สำรองไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้นาน 10 ชม.
- ขนาด 25x23x8cm
8. ไฟฉุกเฉิน LAMPTAN รุ่น TWINLUX
ยี่ห้อ | LAMPTAN |
รุ่น | TWINLUX |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | 500 ลูเมนต์ |
แบตเตอรี่ | 3.7V 1.8Ah |
สำรองไฟนาน | 8 ชม. |
รับประกัน | 1 ปี |
- ไฟ LED chip 44pcs
- ความสว่าง 500 ลูเมนต์
- แรงดัน Input 220-240V 50/60Hz
- แบตเอรี่ 3.7V 1.8Ah Lithium Battery
- ให้แสงสว่างยาวนานกว่า 8 ชม.
- วัสดุผลิตจากพลาสติก ABS
- ขนาด 308x100x140 มม.
9. ไฟฉุกเฉิน Max Bright รุ่น MB369-AD
ยี่ห้อ | Max Bright |
รุ่น | MB369-AD |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | ไม่ระบุ |
แบตเตอรี่ | 12V 2.9Ah |
สำรองไฟนาน | 2.5 ชม. |
รับประกัน | แผงวงจร 5 ปี และ แบตเตอรี่ 4 ปี |
- หลอดไฟ SMD LED 9 / 12 Watt x 2 หัวโคม (= 18w. กับ 24w.)
- ส่องสว่างครอบคลุมพื้นที่แม้มุมกว้าง สามารถปรับ หมุนหัวโคมได้ 180 องศา หรือ ปรับขึ้น-ลง ได้
- ระบบคลายประจุแบตเตอรี่อัตโนมัติทุกเดือน (Auto Test System)
- ตัวเครื่องเป็นวัสดุ ABS ชนิดพิเศษ ทนต่อความร้อนสูง และไม่ติดไฟ
- ด้านหลังเครื่องเป็นเหล็กหนา 1 มม.
- สำรองไฟได้นานกว่า 2.5 ชั่วโมง (ติด สว่างนาน)
- แบตเตอรี่ชนิด ลิเธียมฯ Lithium Ferro Phosphate
- ควบคุมการชาร์จประจุแบตเตอรี่ด้วยระบบ ป้องกันแบตเตอรี่เสียหา
- ควบคุมการใช้งาน ปิด – เปิด แบตเตอรี่ ด้วย Sw. On – Off ที่ติดตั้งไว้บนเครื่อง
- มาตรฐาน มอก.1955 , มอก.902 (22) และ มอก.1102
- การรับประกัน แผงวงจร 5 ปี และ แบตเตอรี่ 4 ปี
10. ไฟฉุกเฉิน DYNO รุ่น EPD-209
ยี่ห้อ | DYNO |
รุ่น | MB369-AD |
ชนิดหลอดไฟ | LED |
ความสว่าง | 450 ลูเมนต์ |
แบตเตอรี่ | 3.2V 6000mAH |
สำรองไฟนาน | 3 ชม. |
รับประกัน | 1 ปี |
เพิ่ม MOV ป้องกันไฟกระชากบนแผงวงจร ทนทานยิ่งขึ้น เมื่อเจอแรงดันไฟฟ้าสูงผิดปกติ ทดสอบตัวเองอัตโนมัติ มีระบบ Auto test เปิดเป็นเวลา 90 นาที ทุกๆ 4 สัปดาห์
-
แบตเตอรี่ Lithium iron phosphate (LiFePO4) 3.2V 3600mAH จำนวน 1 ก้อน
-
ระยะเวลาสำรองไฟมากที่สุด 2 ชั่วโมง
-
แบตเตอรี่มีความทนทาน อายุการใช้งานมากถึง 4 ปี
-
หลอด LED 9W จำนวน 2 หลอด อายุการการใช้งานมากถึง 50,000 ชั่วโมง
-
สามารถปรับหรี่ความสว่างได้ 4 ระดับ โดยกดปุ่มบนตัวเครื่อง หรือรีโมทคอนโทรล
-
สามารถทดสอบแบตเตอรี่ และเปิด/ปิดโคมไฟได้โดยกดปุ่มบนตัวเครื่อง หรือ รีโมทคอนโทรล
-
มีระบบทดสอบเครื่องอัตโนมัติ ทดสอบแบตเตอรี่เป็นเวลา 60 นาที ทุก 4 สัปดาห์
-
สามารถสั่งงานด้วยรีโมตได้
-
ตัวถังส่วนรับน้ำหนักทำจากอลูมิเนียมเคลือบสีฝุ่น
-
ขนาด 70x230x200 มม.
ความสำคัญของไฟฉุกเฉิน ทำไมต้องติดตั้งไฟฉุกเฉิน
1. การป้องกันอันตรายสาธารณะ
2. โอกาสในการรอดชีวิต
3. ตัวช่วยในการค้นหาและการช่วยเหลือ
4. เป็นส่วนหนึ่งของระบบความปลอดภัย
5. ประหยัดเวลาและทรัพยากร
6. เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
- กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเพื่อการหนีไฟ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งจ่ายไฟสำรองที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟและสำหรับใช้กับอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นหรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ในทันทีที่ไฟฟ้าดับ
- ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ผู้ประกอบกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย มีไว้ซึ่งอุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟจากอาคารที่ประกอบกิจการ โดยระบุไว้ในคู่มือท้ายประกาศ
การติดตั้งไฟฉุกเฉิน
1. การวางแผน
- ทำการสำรวจสถานที่เพื่อกำหนดตำแหน่งที่ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้เหมาะสม
- พิจารณาประสิทธิภาพและความต้องการของระบบที่จะติดตั้ง
2. เลือกสถานที่ติดตั้ง
- เลือกสถานที่ที่ไฟฉุกเฉินจะติดตั้งให้เหมาะสม, เช่น ในทางเดิน, ทางออก, หรือพื้นที่ที่ต้องการการแสดงทางออก
3. ตรวจสอบระบบไฟหลัก
- ตรวจสอบระบบไฟหลักที่มีอยู่ในสถานที่เพื่อให้แน่ใจว่ามีทรัพยากรพลังงานเพียงพอ
4. เลือกและซื้ออุปกรณ์
- เลือกและซื้อไฟฉุกเฉินและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องตามความต้องการของสถานที่
5. การติดตั้งพื้นที่
- ดำเนินการติดตั้งทางไฟฟ้าและหลอดไฟฉุกเฉินตามคำแนะนำจากผู้ผลิต
6. การเชื่อมต่อไฟหลัก
- ทำการเชื่อมต่อระบบไฟฉุกเฉินกับไฟหลัก, ซึ่งรวมถึงการติดตั้งระบบถ่ายโอน
7. ทดสอบการทำงาน
- ทดสอบการทำงานของระบบไฟฉุกเฉินในสถานการณ์ฉุกเฉิน, ตรวจสอบว่าไฟฉุกเฉินตั้งทำงานเมื่อไฟหลักดับ.
8. บำรุงรักษาและตรวจสอบ
- ติดตั้งแผนการบำรุงรักษาและตรวจสอบเพื่อรักษาประสิทธิภาพของระบบ
ขั้นตอนการทดสอบและบำรุงรักษาไฟฉุกเฉิน
ขั้นตอนการทดสอบ
1. ทดสอบการทำงานของไฟฉุกเฉิน
- ตรวจสอบว่าไฟฉุกเฉินทำงานได้ตามที่กำหนดเมื่อมีการตัดไฟหลัก
2. ทดสอบแบตเตอรี่
- ทดสอบการทำงานของแบตเตอรี่ในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ตรวจสอบระดับแบตเตอรี่และทำการชาร์จให้เต็มเป็นระยะเวลาที่กำหนด
3. ทดสอบระบบตรวจจับการขาดแสง
- ทดสอบว่าระบบตรวจจับการขาดแสงทำงานอย่างถูกต้อง
4. ทดสอบระบบถ่ายโอน
- ทดสอบการถ่ายโอนระบบจากระบบไฟหลักไปยังระบบไฟฉุกเฉิน
5. ทดสอบระบบสื่อสาร
- ทดสอบการสื่อสารระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบ
ขั้นตอนการบำรุงรักษา
1. ตรวจสอบแบตเตอรี่
- ตรวจสอบแบตเตอรี่เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความเสียหายหรือรอยสึกกร่อน
- ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่และตรวจสอบการเชื่อมต่อ
2. ทำความสะอาดและตรวจสอบสถานะของไฟฉุกเฉิน
- ทำความสะอาดสารสกัดหรือสิ่งสกปรกที่อาจทำให้ลดประสิทธิภาพของไฟฉุกเฉิน
- ตรวจสอบว่าไม่มีชำรุดหรือความเสียหายที่อาจส่งผลต่อการทำงาน
3. ตรวจสอบระบบตรวจจับการขาดแสง
- ทดสอบการทำงานของระบบตรวจจับการขาดแสง
- ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งกีดขวางหรือภาวะที่ทำให้ระบบไม่ทำงานได้
4. บันทึกและทำสถิติการทดสอบ
- บันทึกผลการทดสอบและการตรวจสอบเพื่อการติดตามและการวิเคราะห์ในอนาคต
5. การฝึกอบรมพนักงาน
- ฝึกพนักงานที่เกี่ยวข้องในการใช้งานและการดูแลรักษาระบบไฟฉุกเฉิน
6. ทดสอบการทำงานเป็นระยะ
- ทดสอบระบบเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพตลอดเวลา
1. ความสว่างและแบรนด์
2. การทำงานของแบตเตอรี่
4. การทำงานแบบอัตโนมัติ
5. ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
6. ราคา
7. ความสะดวกในการติดตั้ง
8. ข้อมูลการรับประกัน
3. การทดสอบและการรับรองมาตรฐาน
- ช่วงเวลาการส่องสว่าง
ความส่องสว่างเพื่อการเคลื่อนไหวที่ปลอดภัยต้องมีความส่องสว่างตามพิกัดที่กำหนด ได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 120 นาที - ดัชนีสีที่ปรากฏทั่วไป
แหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ ต้องมีดัชนีสีที่ปรากฏทั่วไปไม่ต่ำกว่า 40 (Ra มากกว่าหรือเท่ากับ 40) - ชนิดของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ที่ใช้ต้องเป็นแบบหุ้มปิดมิดชิดและไม่ต้องมีการบำรุงรักษา เช่น แบตเตอรี่ชนิดนิเคิลเมทัลไฮไดรด์แบบหุ้มปิดมิดชิด (sealed nickel – metal hydride) แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรดแบบหุ้มปิดมิดชิด (sealed lead acid) - ความจุแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ต้องจ่ายไฟได้นานไม่น้อยกว่า 120 นาที โดยมีแรงดันไฟฟ้าต่ำสุดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของแรงดันพิกัดปกติและมีระยะเวลาอัดประจุ (recharge time) นานไม่เกิน 24 ชั่วโมง - ระยะเวลาเริ่มทำงาน
โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ต้องให้ปริมาณแสงของโคมไฟฟ้าออกมาได้กึ่งหนึ่งของพิกัดตามที่ผู้ผลิตแจ้งภายใน 5 วินาที และเต็มพิกัดตามที่ผู้ผลิตแจ้งภายใน 60 วินาที หลังจากที่แหล่งจ่ายไฟปกติล้มเหลว - ระยะเวลาประจุไฟ
อุปกรณ์บรรจุแบตเตอรี่ต้องสามารถอัดประจุได้เต็มภายใน 24 ชั่วโมง
สรุป
แสงส่องสว่างยามฉุกเฉินเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่นไฟไหม้ ระบบไฟฟ้าขัดข้อง เราจำเป็นต้องใช้แสงสว่าง ในการอพยพผู้คน เพื่อนำผู้ที่อยู่ในอาคารให้ออกไปสู่ที่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว การให้แสงสว่างทันทีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติเกิดการล้มเหลว จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาไฟฉุกเฉินเพื่อติดตั้งในสถานที่ทำงานหรือแม้กระทั่งที่บ้านของคุณเอง เราหวังว่าข้อมูลที่ได้จากบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกซื้อไฟฉุกเฉินได้ตรงกับความต้องการของท่านมากที่สุด